ข้อมูลผู้ตรวจสอบอาคาร
• เหตุ แห่งปัญหา : อุบัติภัยทางอาคาร – อาคารวิบัติ, อัคคีภัย, แผ่นดินไหว, ป้ายล้ม
• ความจำเป็น ของการตรวจสอบอาคาร
• อาคารประเภทไหน ที่ต้องจัดให้มี การตรวจสอบ ?
• ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ?
• ระบบและอุปกรณ์ อาคารอะไรที่ต้องมี การตรวจสอบ ?
ปัญหาและแนวทางแก้ไข
1. ความไม่พร้อมของบุคลากรในการรับมืออุบัติภัยความสับสนในการดับไฟและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
- จัดให้มีการอบรมและดำเนินการฝึกซ้อมป้องกันอัคคีภัยและระงับอัคคีภัยกำหนดระเบียบเกี่ยวกับหลักสูตรการฝึกอบรม และข้อปฏิบัติของอาสาดับเพลิงให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบความปลอดภัย (SAFETY OFFICER) ประจำอาคาร (พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542)
2. หลังเกิดเหตุ ขาดหลักประกันการรับผิดชอบต่อผู้เสียหาย
- กำหนดอาคารที่ต้องจัดให้มีการประกันความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก พ.ศ. 2548
3.การขาดสิทธิในการทราบข้อมูลด้านความปลอดภัยของอาคารสาธารณะ
4. อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ที่สร้างก่อนปี 2535 ไม่มีระบบความปลอดภัย
- ออกกฎหมาย (กฎกระทรวงฉบับที่ 47 พ.ศ. 2540) มาใช้บังคับย้อนหลังเพื่อการเสริมความปลอดภัยในอาคารสูงและใหญ่พิเศษที่สร้างก่อนมีกฎหมายอาคารสูงใช้
- ปรับปรุงกฎหมายอาคารสูง (ออกกฎกระทรวงฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2540) เพิ่มเติมกระทรวงฉบับที่ 33 พ.ศ 2535)
5. การไม่ดูแลรักษาอุปกรณ์ภายในอาคารให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
- ออกกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบอาคาร
- กำหนดอาคารประเภทที่ต้องตรวจ
- ผู้ตรวจสอบอาคาร
- หลักเกณฑ์การตรวจ
กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548
1. อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ 2. อาคารชุมนุมคน 3. อาคารตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กำหนดอาคารอีก 6 ประเภทเพิ่มเติมตาม ม.32 ทวิ ข้อ 3
4. โรงมหรสพ
5. โรงแรม
6. สถานบริการ
7. อาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวม*
8. โรงงาน
9. ป้าย
อาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ

อาคารที่ต้องจัดให้มีการประกันภัยบุคคลภายนอก
ผู้ตรวจสอบอาคาร
มาตรา 32 ทวิ วรรคสอง
ต้องจัดให้มี ผู้ตรวจสอบอาคาร ด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบสภาพอาคาร โครงสร้างของตัวอาคาร อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า และการจัดแสงสว่าง ระบบการเตือน การป้องกันและการระงับอัคคีภัย การป้องกันอันตรายเมื่อมีเหตชุลมุนวุ่นวาย ระบบระบายอากาศ ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบเครื่องกล หรือ ระบบอื่น ๆของอาคารที่จำเป็นต่อการป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินแล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้ตรวจสอบอาคารมี 2 ประเภท
- บุคคลธรรมดา
- นิติบุคคล
ประเภทการตรวจสอบ
- การตรวจสอบใหญ่ ทุก 5 ปี
- การตรวจสอบประจำปี
การปฏิบัติงานของผู้ ตรวจสอบ
- ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่ตรวจสอบ สังเกตด้วยสายตาพร้อมด้วยเครืองมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ
- ทำรายงาน รวบรวมและสรุปผลการ วิเคราะห์ ทางด้านความมั่นคงแข็งแรง และระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้ใช้สอยอาคาร
- จัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ทำการตรวจสอบนั้นให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อให้เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี
- ผู้ตรวจสอบไม่จำเป็นต้องเข้าตรวจสอบในบริเวณพื้นที่ที่อาจจะทำอันตรายต่อผู้ตรวจสอบ
- ความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบหลังจากการตรวจสอบเสร็จลงนามรับรองผลการตรวจสอบ ณ วันเวลาที่ตรวจสอบเท่านั้น
ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้
- วัดหรือทดสอบแผงสวิตซ์ ที่ต้องให้สายวัดสัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่แผงสวิตซ์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่
- ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝาแผงสวิตซ์ แผงควบคุม เพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์”
- รับรองผลการตรวจสอบในรายงาน